วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

       การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปได้ว่า

          ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ประกอบด้วยทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์มิติ-เวลา และทักษะพยากรณ์ สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเฉพาะ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสาตร์6 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะลงความเห็น และ ทักษะการพยากรณ์ ซึ่งเป็นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในระดับพื้นฐาน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
          ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
           1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
           2. เพื่เปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง

สมมุติฐานในการวิจัย
           เด็กปฐมวัยหลัฃจากได้รับการจัดการเรียนรู้เด็กนักวิจัยจะมรการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรม

ขอบเขตการวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกาา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบาละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน จำนวน 156คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจิย
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักคณะกรรมการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน จากจำนวน 4 ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลากได้จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการในการวิจัย
          1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
          2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
           การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ 1 เรื่องใช้เวลา 2 สัปดาห์ จำนวน8วัน วันละ 30-40  นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณืในช่วงเวลา 9:30-10:15 น. โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา1สัปดาห์
            2.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (prtest) ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา3วัน ได้แก วันจันทร์ อังคาร พุธ จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
            3. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ไช้เวลา 8 สัปดาห์ เรื่องละ 2 สัปดาห์ จำนวน 8 วัน วันลำ 30-45 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 9:30-10:15 น. 

การวิเคราะห์ข้อมูล
           1. หาค่าสถิตพื้นฐานของคะแนนจากแบบสอบถามความสามารถในการวิเ้คราะห์การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยนเบนมาตรฐาน
           2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองt-test แบบ Dependent samples 

สรุปผลการวิจัย
           1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราำห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
          2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยสศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

การอภิปราย
           จาการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัย ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่างๆ ประกอบได้ดังนี้
           1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องภายหลังการได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาสาส๖ร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมติฐาน ที่ตั้งไว้การที่เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
            2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นิกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.01 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น