วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

       การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปได้ว่า

          ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ประกอบด้วยทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์มิติ-เวลา และทักษะพยากรณ์ สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเฉพาะ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสาตร์6 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะลงความเห็น และ ทักษะการพยากรณ์ ซึ่งเป็นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในระดับพื้นฐาน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
          ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
           1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
           2. เพื่เปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง

สมมุติฐานในการวิจัย
           เด็กปฐมวัยหลัฃจากได้รับการจัดการเรียนรู้เด็กนักวิจัยจะมรการเปลี่ยนแปลงของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรม

ขอบเขตการวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกาา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบาละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน จำนวน 156คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจิย
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักคณะกรรมการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน จากจำนวน 4 ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลากได้จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการในการวิจัย
          1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
          2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
           การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ 1 เรื่องใช้เวลา 2 สัปดาห์ จำนวน8วัน วันละ 30-40  นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณืในช่วงเวลา 9:30-10:15 น. โดยมีขั้นตอนดังนี้
            1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา1สัปดาห์
            2.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (prtest) ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา3วัน ได้แก วันจันทร์ อังคาร พุธ จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
            3. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ไช้เวลา 8 สัปดาห์ เรื่องละ 2 สัปดาห์ จำนวน 8 วัน วันลำ 30-45 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 9:30-10:15 น. 

การวิเคราะห์ข้อมูล
           1. หาค่าสถิตพื้นฐานของคะแนนจากแบบสอบถามความสามารถในการวิเ้คราะห์การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยนเบนมาตรฐาน
           2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองt-test แบบ Dependent samples 

สรุปผลการวิจัย
           1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราำห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
          2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยสศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

การอภิปราย
           จาการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัย ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่างๆ ประกอบได้ดังนี้
           1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องภายหลังการได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาสาส๖ร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมติฐาน ที่ตั้งไว้การที่เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
            2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นิกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.01 

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่18 วันที่ 23/9/56

วันนี้อาจารย์ได้สอนทำ cooking  ตามแผนที่เพื่อนได้นำเสนอไปในสัปดาห์ที่แล้ว

 หน่วยแกงจืด













                                       


 ขั้นตอนการปฏิบัติ
  1. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทย ให้เข้ากันจนละเอียด แล้วพักไว้
  2. นำกระดูกหมูหรือไก่ใส่หม้อ ใสน้ำตามต้องการ ใส่เกลือนิดหน่อย วางทิ้งไว้ประมาณ 60 นาที เพื่อให้น้ำละลายเอาวิตามิน เกลือแร่ที่ละลายน้ำได้ ออกมาจากกระดูก  แล้วนำไปตั้งไฟอย่าให้แรงนัก คอยซ้อนฟองทิ้ง ตั้งไฟให้เดือดประมาณ 20 นาที ยกลง (ไฟอ่อน) รินหรือกรองเอาแต่น้ำใสๆ
  3. หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ ถ้าเป็นเนื้อไก่ให้แล่เอาแต่เนื้อแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ เช่นเดียวกับเนื้อหมู แล้วสับให้ละเอียดปั้นเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ พักไว้
  4. เอาน้ำต้มกระดูกที่กรองแล้วใส่หม้อตั้งไฟให้เดือดพล่าน ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยที่โขลกไว้ ใส่หมูหรือไก่ที่สับไว้  ถั่วงอกหัวโต เต้าหู้ขาวลงไป พอเดือดอีกครั้งใส่น้ำปลา แล้วชิมรส    ใสตั้งฉ่ายต้นหอมแล้วยกลง  
 
 
คุณค่าทางอาหารที่ได้รับ
    -โปรตีนจากเนื้อหมูหรือไก่ น้ำต้มกระดูก เต้าหู้ ถั่วงอกหัวโต
    - ไขมันจากมันในเนื้อหมู กระดูกหมู
    - วิตามินเอจากต้นหอม
    - คาร์โบไฮเดรตจากกระเทียม พริกไทย
    - แคลเซียมและฟอสฟอรัสจากต้นหอม น้ำปลา พริกไทย
    - ธาตุเหล็กจากพริกไทย


วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่17 วันที่ 16/9/56

                      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน10 แล้วแจกกระดาษ ให้ลุ่มละ  4 แผ่น แล้วให้เขียนแผนารจัดประสบการณ์ การประกอบอาหาร Cooking ดังนี้



                                  

                                  

                                   
                                                                       





วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่16 วันที่15 /9/56

เรียนชดเชย เพื่อๆได้ออกมานำเสนอ ของเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ดังนี้



กล่องสีน่าค้นหา



 สัตว์โลกน่ารัก



รถลงหลุม


นิทานแม่เหล็ก



ภาพสามมิติ



กระดาษเปลี่ยนสี



ซูโม่กระดาษ


ตัวอ่อนตัวเต็มวัย




การนำเสนอการจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศสาสตร์  มีดังนี้


ตุ๊กตาล้มลุก



กระป๋องบูมมอแรง



ตารางวิทยาศาสตร์


วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่15 วันที่9/9/2556

         หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ

                    และขอชดเชยในวันที่15กัยนยายม2556                                                  

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14 วันที่2/9/2556

                                 อาจารย์ให้เสนอ กล่องของเล่นวิทยาศาสตร์ ดังนี้


กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโป่งใส โป่งแสง และทึบแสง



กลุ่ม 2 กล่องนำแสง








กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก

กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง


กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่



กลุ่ม 6  มองวัตถุผ่าแว่นขยาย




วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่13 วันที่26/8/2556

                       ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ ติดธุระ งานมุธิตา จิต
                                        ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ กรรณิกา  สุขสม

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่12 วันที่19/8/2556

  •                   อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองเป็นกลุ่ม

1. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิตย์
2. แรงตึงผิว
3. จดหมาย
4. ไข่จม ไข่ลอย
5. เป่าฟองสบู่
6. ขวดเป่าลูกโป่ง
7. ลาวาในขวด
8. หลอดดูดไม่ขึ้น
9. เป่าลูกโป่งในขวด
10. ไฟดับ
11. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
12. เทียนลอยน้ำ
13. โป่งแสง ทึบแสง
14. กาวอากาศ
15. จดหมายล่องหน
16. แผ่นฟิมล์สีรุ้งจากน้ำยาล้างเล็บ





การทดลองกลุ่มดิฉัน เป่าลูกโป่งด้วยน้ำส้มสายชู

อุปกรณ์
1.               ลูกโป่ง 1 ใบ
2.               กรวย 1อัน
3.               ผงฟู 1ช้อนโต๊ะ
4.               ขวดพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร
5.               น้ำส้มสายชู
การทดลอง
1.  นำลูกโป่งครอบเข้ากับกรวย ดังภาพที่ แล้วบรรจุผงฟูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในลูกโป่ง
2.  บรรจุน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกใส ประมาณ 1 ใน 4 ของขวด   โดยใช้กรวย เพื่อไม่ให้น้ำส้มสายชูหก
3.  นำลูกโป่งที่บรรจุผงฟูครอบลงไปบนปากขวดพลาสติก ดึงให้แน่น ( ระวังอย่าเพิ่งให้ผงฟูร่วงลงในขวด)
4.  เมื่อแน่ใจว่า ลูกโป่งยึดติดกับปากขวดแน่นแล้ว ให้ยกลูกโป่งขึ้น เพื่อให้ผงฟูหล่นลงในน้ำส้มสายชู สังเกตผลการทดลอง
                เป็นอย่างไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่ง  เมื่อเรายกลูกโป่งขึ้นเพื่อให้ผงฟูที่อยู่ด้านในร่วงลงไปรวมกับน้ำส้มสายชู   จะสังเกตเห็นว่ามีฟองอากาศปุดๆ เกิดขึ้นมากมายภายในขวดพลาสติก  แล้วเจ้าลูกโป่งที่นอนคอพับอยู่ก็ค่อย ๆ พองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  หากเราใช้น้ำส้มสายชูและผงฟูมากเกินไป  ลูกโป่งก็อาจจะแตกได้ หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่เราหายใจออกมานั่นเอง
           เมื่อน้ำส้มสายชูรวมกับผงฟู หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี  และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น   จนได้สารชนิดใหม่  ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์  สำหรับผงฟูนั้นหลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำขนม  ซึ่งประโยชน์ของผงฟูนั้นนอกจากจะช่วยทำให้อาหารขึ้นฟู โดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคุกกี้ แล้ว ยังสามารถนำผงฟูไปผสมกับน้ำ  สำหรับแช่ผักผลไม้    ซึ่งจะสามารถลดสารพิษตกค้างได้ถึง 90-95  เปอเซ็นต์ 



งานที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์ให้ทำสื่อเข้ามุม จับกลุ่มละ3คน




                                                                                                               















                                                      


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่11 วันที่17/8/2556

                        อาจารย์ให้เสนอของเล่น ดังนี้

1. รถพลังลม
2.ขลุ่ยหลอด
3. จรวดหลอด
4. กลองหรรษา
5. ปืนยิงบอล
6.ถ้วยกระโดดได้
7. โทรศัพท์หลายสาย
8. จักจั่น
9. ไหมพรมเต้นรำ
10.ป๋องแป้ง

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่10 วันที่12/8/2556

                             ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันหยุด "วันแม่"

                            

ประวัติวันแม่


วันแม่แห่งชาติ

แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาไว้เมื่อ วันที่ 15 เมษยน ของทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2493 ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
ภาพวันแม่
วันแม่แห่งชาติ
จากนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป และมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ ประกวดเรียงความวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของ รัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคมเป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


ดอกมะลิ
ดอกมะลิ ดอกไม้ประจำวันแม่
ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม

พันธุ์ดอกมะลิ


    • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว
    • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
    • มะลิถอด ลักษณะ โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น
    • มะลิซ้อน ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น
    • มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ

พลงที่ใช้ในวันเเม่

ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

เพลง ค่าน้ำนม


เพลงค่าน้ำนม ที่เปิดใช้ในวันสำคัญ วันแม่แห่งชาติ
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนมเลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย ( ซ้ำ *, ** )

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่9 วันที่5/8/2556

                        
                            ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค
  
                        

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่8 วันที่29/7/2556


               ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้เตรียมอ่านหนังสือกลางภาค


วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่7 วันที่28/7/2556

                         อาจารย์นัด เรียนชดเชย เนื่องจากวันหยุดวันอาสาฬหบูชา
                                       อาจารย์ให้ร่วมอบรม การทำสื่อ




วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่6 วันที่22/7/2556

                        ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด อาสาฬหบูชา



วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ "วันพระสงฆ์"เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักร เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก


วันอาสาฬหบูชา (บาลี อาสาฬหปูชา; อังกฤษ Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยคำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดียตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกกฎคมแต่ถ้าในปีใดที่มี8สองหนก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ  เมืองพาราณสี แค้วนมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัจวัสคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธา) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ 2501โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎคม พ.ศ02501กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา



ความสำคัญ
วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้
  1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
  2. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
  3. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
  4. เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ