วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่13 วันที่26/8/2556

                       ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ ติดธุระ งานมุธิตา จิต
                                        ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ กรรณิกา  สุขสม

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่12 วันที่19/8/2556

  •                   อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองเป็นกลุ่ม

1. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิตย์
2. แรงตึงผิว
3. จดหมาย
4. ไข่จม ไข่ลอย
5. เป่าฟองสบู่
6. ขวดเป่าลูกโป่ง
7. ลาวาในขวด
8. หลอดดูดไม่ขึ้น
9. เป่าลูกโป่งในขวด
10. ไฟดับ
11. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
12. เทียนลอยน้ำ
13. โป่งแสง ทึบแสง
14. กาวอากาศ
15. จดหมายล่องหน
16. แผ่นฟิมล์สีรุ้งจากน้ำยาล้างเล็บ





การทดลองกลุ่มดิฉัน เป่าลูกโป่งด้วยน้ำส้มสายชู

อุปกรณ์
1.               ลูกโป่ง 1 ใบ
2.               กรวย 1อัน
3.               ผงฟู 1ช้อนโต๊ะ
4.               ขวดพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร
5.               น้ำส้มสายชู
การทดลอง
1.  นำลูกโป่งครอบเข้ากับกรวย ดังภาพที่ แล้วบรรจุผงฟูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในลูกโป่ง
2.  บรรจุน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกใส ประมาณ 1 ใน 4 ของขวด   โดยใช้กรวย เพื่อไม่ให้น้ำส้มสายชูหก
3.  นำลูกโป่งที่บรรจุผงฟูครอบลงไปบนปากขวดพลาสติก ดึงให้แน่น ( ระวังอย่าเพิ่งให้ผงฟูร่วงลงในขวด)
4.  เมื่อแน่ใจว่า ลูกโป่งยึดติดกับปากขวดแน่นแล้ว ให้ยกลูกโป่งขึ้น เพื่อให้ผงฟูหล่นลงในน้ำส้มสายชู สังเกตผลการทดลอง
                เป็นอย่างไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่ง  เมื่อเรายกลูกโป่งขึ้นเพื่อให้ผงฟูที่อยู่ด้านในร่วงลงไปรวมกับน้ำส้มสายชู   จะสังเกตเห็นว่ามีฟองอากาศปุดๆ เกิดขึ้นมากมายภายในขวดพลาสติก  แล้วเจ้าลูกโป่งที่นอนคอพับอยู่ก็ค่อย ๆ พองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  หากเราใช้น้ำส้มสายชูและผงฟูมากเกินไป  ลูกโป่งก็อาจจะแตกได้ หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่เราหายใจออกมานั่นเอง
           เมื่อน้ำส้มสายชูรวมกับผงฟู หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี  และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น   จนได้สารชนิดใหม่  ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์  สำหรับผงฟูนั้นหลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำขนม  ซึ่งประโยชน์ของผงฟูนั้นนอกจากจะช่วยทำให้อาหารขึ้นฟู โดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคุกกี้ แล้ว ยังสามารถนำผงฟูไปผสมกับน้ำ  สำหรับแช่ผักผลไม้    ซึ่งจะสามารถลดสารพิษตกค้างได้ถึง 90-95  เปอเซ็นต์ 



งานที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์ให้ทำสื่อเข้ามุม จับกลุ่มละ3คน




                                                                                                               















                                                      


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่11 วันที่17/8/2556

                        อาจารย์ให้เสนอของเล่น ดังนี้

1. รถพลังลม
2.ขลุ่ยหลอด
3. จรวดหลอด
4. กลองหรรษา
5. ปืนยิงบอล
6.ถ้วยกระโดดได้
7. โทรศัพท์หลายสาย
8. จักจั่น
9. ไหมพรมเต้นรำ
10.ป๋องแป้ง

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่10 วันที่12/8/2556

                             ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันหยุด "วันแม่"

                            

ประวัติวันแม่


วันแม่แห่งชาติ

แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาไว้เมื่อ วันที่ 15 เมษยน ของทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2493 ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
ภาพวันแม่
วันแม่แห่งชาติ
จากนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป และมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ ประกวดเรียงความวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของ รัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคมเป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


ดอกมะลิ
ดอกมะลิ ดอกไม้ประจำวันแม่
ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม

พันธุ์ดอกมะลิ


    • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว
    • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
    • มะลิถอด ลักษณะ โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น
    • มะลิซ้อน ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น
    • มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ

พลงที่ใช้ในวันเเม่

ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

เพลง ค่าน้ำนม


เพลงค่าน้ำนม ที่เปิดใช้ในวันสำคัญ วันแม่แห่งชาติ
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนมเลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย ( ซ้ำ *, ** )

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่9 วันที่5/8/2556

                        
                            ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค
  
                        

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่8 วันที่29/7/2556


               ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้เตรียมอ่านหนังสือกลางภาค